วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

แรงบันดาลใจ สร้างสื่อ....


                 เอ๊ะ!!!  ความดันคืออะไรอ่า? คือการที่เราเอามือดันหรอ อร๊าย!!ทำไมถึงมองเป็นภาพไม่ออกหนา  เชื่อว่าทุกคนจะต้องมีคำถามแบบนี้ในใจเมื่อเรียนวิชาฟิสิกส์ บางเรื่องมันเป็นสิ่งที่เราต้องจินตนาการตามเนื้อหาซึ่งเป็นเรื่องที่ลำบากสำหรับผู้เรียนหลายคนเป็นอย่างมาก

                จากการที่ได้ไปศึกษาสื่อการสอนที่โรงเรียนหอว้งมาครั้งที่แล้ว  ทำให้พวกหนูมีความคิดแรงบันดาลใจ ที่จะสร้างสื่อการสอนเพื่อให้เป็นผลดีต่อผู้สอนและผู้เรียน  และลื่อที่จะทำนี้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติด้วยนั่นก็คือ สื่อการทดลองนั่นเอง

                  จากการที่พวกหนูได้ปรึกษาว่าจะทำสื่อการทดลองเรื่องอะไร ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่าจะทำเรื่องความดัน เพราะว่าความดันไม่มีรูปร่างเป็นตัวเป็นตนที่แน่นอน ถ้าไม่เห็นภาพจริงๆอาจจะไม่เข้าใจความหมายของความดันที่แท้จริง ซึ่งสื่อการทดลองนี้ก็ทำได้ไม่ยากลองดูวิธีใช้สื่อนี้กันค่ะ
       อุปกรณในการทำสื่อ
ลูกโป่ง
ตะปู
แผงตะปู









       ส่วนวิธีการใช้ก็คือนำตะปูไปทำเป็นแผง  และเป่าลูกโป่งไว้หลายๆลูก  จากนั้นก็นำตะปู 1 แท่งมาทิ่มตะปู อีกอันก็นำแผงตะปูทับลูกโป่ง  แล้วสังเกตว่าลูกโป่งลูกไหนแตกง่ายกว่ากัน ซึ่งส่วนของลูกที่โดนตะปู 1 แท่งทิ่มจะแตกเร็วกว่าลูกที่ถูกแผงตะปูทิ่มลูกโป่งเนื่องจากพื้นที่ผิวสัมผัสของตะปู 1 แท่งน้อยกว่าจึงทำให้มีแรงดันมากลูกโป่งจึงแตกเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของความดันที่ว่า แรงดันเป็นอัตราส่วนกับพื้นที่ผิวสัมผัส
            สื่อการสอนที่ทำนี้ทำง่ายและเข้าใจง่ายราคาไม่แพงเหมาะแก่การนำไปใช้ในการสอนได้ดี  พวกหนูคิดว่าสื่อการสอนนี้จะช่วยอธิบายความหมายของความดันได้ชัดเจนยิ่งขึ้นนะคะ 


            

ไปโรงเรียนก็ไม่ไป ไปทีไรก็ไปสาย....


เช้าอากาศสดใสเวลา แปดโมงเช้าวันอังคาร(ไม่ใช่เพลงนะคะ555+)ดิฉันและสมาชิกได้    มาดูงานสื่อการสอนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครอยู่แถวๆลาดพร้าวนั่นก็คือโรงเรียนหอวังนั่นเองค่ะ
          อ้าหลังจากที่รู้จักประวัติความเป็นมาพอควรแล้วดิฉันจะบรรยายถึงวันที่ไปเยี่ยมชมการเรียนและการใช้สื่อการสอนในโรงเรียน วิชาที่เลือกก็หนีไม่พ้นวิชาฟิสิกส์ที่ในอนาคตวันข้างหน้าดิฉันจะต้องไปสอน  ก่อนอื่นพวกหนูได้เดินสำรวจโรงเรียนรอบๆระหว่างรอการเรียนวิชาฟิสิกส์ของเด็กๆ โรงเรียนมีขนาดไม่ใหญ่มากแต่ถือว่าเล็กเวลาเรียนเด็กนักเรียนทั้งหลายจึงต้องเดินเรียนทั้งวัน โดยห้องเรียนทั่วไปก็จะมีสื่อการสอนพื้นฐานครบทุกห้อง ถ้าเป็นห้องวิทยาศาสตร์จะมีอุปกรณ์การทดลองไว้ให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติเพื่อเกิดความเข้าใจมากขึ้น
          กริ๊งงงงงงง!!! ได้เวลาแล้วสำหรับการเข้าไปดูการสอนวิชาฟิสิกส์โดยพวกหนูได้เข้าดูของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้สอนคือคุณครูวิยดา พัฒนกิจจาทร ซึ่งคุณครูท่านนี้เป็นครูหัวหน้าหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยพวกหนูรู้สึกตื่นเต้นจริงๆ
คุณครูกำลังสอนและนักเรียนกำลังเรียนอย่างตั้งใจ
          วันนี้นักเรียนเรียนเรื่องปริมาณการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง โดยในคาบวันนั้นคุณครูจะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือช่วงนำเข้าสู่บทเรียนคืออาจารย์จะตั้งคำถามให้กับนักเรียนได้สงสัย แล้วอยากที่จะเรียนรู้ต่อมาช่วงการเรียนรู้คุณครูก็จะอธิบายความหมาย นิยามต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจ  แต่ขึ้นชื่ออยู่แล้วว่าฟิสิกส์เป้นวิชาที่อธิบายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติรอบตัวเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น จะต้องมีการทดลองเพื่อให้นักเรียนได้เห็นและทำด้วยตัวเองโดยในวันนั้นทำการทดลองเรื่องเครื่องเคาะสัญญาณ  นักเรียนก็กระตือรือร้นที่จะทำกันซึ่งพวกหนูเห็นแล้วคิดว่าการทดลองนอกจากการทดลองจะทำให้เข้าใจในเนื้อหาแล้วยังไม่ทำให้เด็กนอนด้วยฮ่าๆ
คุณครูสาธิตการทดลองให้นักเรียนดู
        
          ต่อมาสื่อการสอนที่ใช้ได้แก่กระดานไวท์บอร์ด เครื่องโปรเจคเตอร์  เครื่อง Viualizer และอุปกรณ์การทดลอง ซึ่งสื่อพวกนี้ได้ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสะดวกในการที่จะเตรียมการสอนหรือไม่ก็เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นอย่างดียิ่ง
          
นักเรียนได้ลงมือทำด้วยตัวเอง

             การไปเยี่ยมชมโรงเรียนหอวังครั้งนี้ ทำให้มองว่าสื่อการสอนเป็นสิ่งสำคัญในการสอนของผู้สอน เพราะว่าถ้าผู้สอนใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้เนื้อหาที่เตรียมการสอนนั้นมีการสื่อสารที่ง่าย สามารถสอนผู้เรียนได้ในเวลาที่จำกัด ครอบคลุมและทำให้ผู้เรียนได้มองสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้เป็นนามธรรม สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาจำกัด  มีความเข้าใจที่ตรงกันหมด(ไม่มีปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล) หรือไม่ก็จากเนื้อหาที่กว้าง อาจทำให้มันเล็กลงได้ ซึ่งเห็นแต่ผลดีและมีประโยชน์อย่างมากกับผู้เรียนและผู้สอนจริงๆค่ะ
การมีสื่อการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีความสนใจกันมากขึ้น